การพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนน้อย นอนดึก ทำงานมากไปย่อมทำให้สุขภาพร่างกายอ่อนเพลียเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำบ่อยๆ อย่างการอ่านหนังสือหนักในช่วงสอบ การปั่นงานโปรเจคส่ง การทำงานมากเกินไป หรือทำกิจกรรมต่างๆ โดยไม่ค่อยได้พักผ่อน ทำให้เราง่วง ร่างกายอ่อนเพลียสะสม จนทำให้ร่างกายอ่อนแอและป่วยง่ายในที่สุด เพราะฉะนั้นแล้วเราควรจะจัดสรรค์เวลาของเราให้ดี
ในแต่ละวัน เราควรนอนหลับพักผ่อน 7-8 ชั่วโมง แต่มากกว่านั้นก็ไม่ดี เพื่อให้ระบบต่างๆ ในร่างกายได้หยุดพักบ้าง ถ้าเราพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย อ่อนล้า ไม่มีแรง เบลอ ปวดหัว เวียนหัว อยากอาเจียน สิ่งที่เราพอจะบรรเทาอาการเหล่านี้ได้คือดื่มน้ำให้มากๆ ทานข้าวให้ครบ 6 หมู่ทุกมื้อ อย่างน้อยก็ให้ร่างกายได้มีพลังงานจากการทานข้าวนะทุกคน
6 หมู่ อาหารหลัก
- โปรตีน (เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว)
- คาร์โบไฮเดรต (ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน)
- เกลือแร่หรือแร่ธาตุ (พืชผัก)
- วิตามิน (ผลไม้)
- ไขมัน (ไขมันจากพืชและสัตว์)
- น้ำดื่ม (ต้องเป็นน้ำดื่นที่สะอาดซึ่ง มนุษย์ขาดไม่ได้ในการดำเนินชีวิต)
นอกจากนี้เรายังสามารถบรรเทาอาการอ่อนเพลียจากการพักผ่อนน้อยโดยการทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง หรือที่อุดมไปด้วยวิตามินซีและวิตามินบี เพื่อทำให้ร่างกายแข็งแรงและสามารถบรรเทาความเครียดจากอาการอ่อนเพลียได้ เราสามารถกินผักและผลไม้ ดีต่อสุขภาพ และควรทานอาหารทุก 6 ชั่วโมงจะได้มีแรง
ดังนั้นหากใครที่หลีกเลี่ยงการพักผ่อนน้อยไม่ได้ อาจจะมีความจำเป็นต้องปั่นงานและอ่านหนังสือก็อย่าเป็นกังวลไป หันมาดูแลสุขภาพด้วยการกินที่จะช่วยลดอาการอ่อนเพลียได้ พอถึงช่วงที่เรามีเวลาว่างกลับมาเป็นปกติก้หันมาดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ และอย่านอนดึกนั่นเอง วันนี้เราก็มีแนวทางการจัดสรรค์เวลาเพื่อสุขภาพที่ดีมาให้ทุกท่านได้ทราบ
การบริหารเวลาเป็นสิ่งสำคัญในการทำงานด้วยความรวดเร็วตอบโจทย์การแข่งขันทางธุรกิจที่ทวีเพิ่มสูงทั่วโลก ขณะเดียวกัน ก็ต้องหาเทคนิครักษาระดับความสัมพันธ์กับคนรอบข้างไว้ให้ดีนั้นเองเราไปดูกันเลยว่าจะมีอะไรบ้าง
วิธีการบริหารเวลา
- ควรทำงานอย่างมีสมาธิ แล้วพักสายตา-คลายเครียดทุก 20-30นาที
- ตื่นเช้ามาควรทำสามาธิหรือทำใจให้สงบก่อนทำงานเสมอ
- ช่วงเช้า ทำการทบทวน plan ที่คิดไว้เมื่อคืนคร่าว ๆ อีกครั้งในเวลาไม่เกิน 3 นาที
- ตั้งเวลาเปิดเปิดนาฬิกาไว้ด้วยเสียงที่ฟังดูเป็นธรรมชาติ เช่น น้ำตกไหล นกร้อง เพื่อกระตุ้นให้อารมณ์แจ่มใส
- หากมีสิ่งที่เข้ามาเป็น “คิวแทรก” ต้องประเมินว่าด่วนหรือสำคัญเพียงใด
- ในที่ทำงาน คุยเฮฮากับเพื่อนฝูงได้ แต่ไม่ควรนานเกินไป เพราะทำให้เสียความจดจ่อในการทำงาน
- ควรเอา “กิจกรรมแทรก” ไปทำช่วงเวลาระหว่างเบรค หรือ แบ่งทอนให้คนอื่นบ้าง
- แพลนในตารางมือถือ หรือ diary ก่อนนอน ว่าพรุ่งนี้เช้าถึงเย็นต้องทำอะไร-ที่ไหน-กับใครบ้าง
- บิดขี้เกียจ-ยืดเส้นยืดสายเป็นระยะ เพื่อรีเฟรซ (refresh) ร่างกาย ทำให้สมองแจ่มใสขึ้นในช่วงบ่าย
- ในตอนเช้า หัวสมองยัง “แล่น” ดี เสียงรอบข้างยังเงียบสงบ ควรทำงานที่ต้องใช้สมาธิหรือพลังความคิดสูง
- จ้างมืออาชีพขับรถให้ ลดการขับรถด้วยตัวเอง เพราะสามารถคิดงานและทำงานหลายอย่างในรถได้ และทำให้ล
- ทบทวนข้อผิดพลาด-จุดเด่นของตัวเองทุกครั้ง ไม่ว่าทำงานเสร็จตามแพลนในข้อ
- นำความคิดมาไล่เรียงในสมอง ใช้โอกาสตอนประชุม (ทั้งส่วนตัวและทางการ) เสนอแนะหาทางแก้ไขปัญหา
- ไม่เสียเวลาดุว่าลูกน้องเป็นส่วนตัว เพราะทำให้เสียกำลังใจและไม่เป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุด
- พยายามทำงานให้ได้ตามแผนเวลาที่วางไว้ ไม่ให้พอกพูน ทั้งยังต้องเผื่อเวลาเล็กน้อย สำหรับยืดหยุ่นได้บ้าง
- ใช้ภาษากาย ภาษามือ หรือสายตา แทนการให้กำลังใจเพื่อนร่วมงานหรือลูกน้องบ่อย ๆ เพราะแสดงถึงความจริงใจ ทำให้ได้รับความร่วมมือจากการทำงานดีขึ้น ทำให้การบริหารเวลาดีขึ้นตามไปด้วย
การจัดการเวลาเป็นสิ่งที่ห้ามให้ขาดเลยเด็ดขาดในแต่ละวัน ตามที่มีการกล่าวไว้ว่ามนุษย์เรามี 1 วันเสมอกัน แม้กระนั้นไปถึงเป้าหมาย หรือ ล้มเหลวแตกต่างกัน จากรากฐานเป็นการจัดการเวลาอย่างมีคุณภาพนั่นเอง