เหล็กเส้น หรือ เหล็กเสริม สำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็กและงานก่ออิฐทั่วไป โดยใช้ในการเพิ่มความสามารถในการรับแรงกับโครงสร้างเพื่อให้โครงสร้างเหล่านั้นแข็งแรงขึ้นนั้นเอง เพราะเหตุนี้ เราจึงควรที่จะรู้ว่าราคาเหล็กเส้นพวกนี้นั้นมีประเภทของเหล็กที่แตกต่างกันไปจะได้รู้ว่าเราควรจะใช้เหล็กประเภทไหนในโครงสร้างนี้แล้ววันนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับประเภทและราคาเหล็กเส้นกันว่าเป็นอย่างไร
โดยปกติจะแบ่งเหล็กเสริมเป็นสองประเภท ดังนี้
เหล็กกลมผิวเรียบ SR24 มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 2400 ksc.(กก./ตร.ซม.) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดต่างๆ เช่น RB6 (หมายถึง Round Bar ขนาด ศก.6 มม.), RB9, RB12, RB15, RB19, RB25 เนื่องจากผิวเหล็กที่มีลักษณะกลมเรียบจึงทำให้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กกับคอนกรีตไม่ดีจึงต้องมีการงอขอเพื่อที่จะสามารถถ่ายแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพในการทำโครงสร้างของตัวบ้านหรือตึก
เหล็กเส้นกลม คือ เหล็กเส้นสำหรับงานก่อสร้าง หรือเรียกสั้นๆว่า RB ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.28/2529,32/2532 ชั้นคุณภาพของเหล็กประเภทนี้คือ SR24 ที่เป็นที่รู้จักและนิยมใช้คือ เหล็ก บลส. บกส. TSC และ NS
- RB6 (เหล็กเส้นกลม 2 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มาก นิยมใช้ทำปอกเสา และปอกคาน
- RB9 (เหล็กเส้นกลม 3 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มาก คล้ายกับเหล็กเส้นกลม 2 หุน
- RB12 (เหล็กเส้นกลม 4 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างทั่วไป แต่ไม่เน้นงานยึดเกาะ เพราะเหล็กมีลักษณะเรียบมน ทำให้ยึดเกาะปูนไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนมากนิยมใช้กับงานกลึง เช่น งานกลึงหัวน๊อตต่างๆ
- RB19 ใช้สำหรับงานทำถนน
- RB25 ใช้ทำเป็นเหล็กสตัท เกรียวเร่ง สำหรับงานยึดโครงป้ายขนาดใหญ่สามารถรับแรง และน้ำหนักได้ดี
ราคาเหล็กแต่ละชนิด และ ประเภทของเหล็ก
1.ประเภท RB65 S24 ขนาด 6 มม. 10 มม. นน.ต่อเส้น 2.22 ก. ชื่อเรียก ราคาเหล็กเส้นกลม สองหุน
- ราคา บลกท. SD40T ต่อเส้น ตรง/พับ 42 + 7% หรือ 18.20 / กก.
- ราคา SD40 ไม่ที ตรง/พับ 97 + 7% หรือ 18.90 / กก.
2.ประเภท RB9 SR24 ขนาด 9 มม. 10 มม. นน.ต่อเส้น 4.99 ก. ชื่อเรียก เหล็กเส้นกลม สามหุน
- ราคา บลกท. SD40T ต่อเส้น ตรง/พับ 84 + 7% หรือ 17.60 / กก.
- ราคา SD40 ไม่ที ตรง/พับ 32 + 7% หรือ 18.30 / กก.
3.ประเภท DB12 ขนาด 12มม. 10ม. นน.ต่อเส้น 8.88 กก. ชื่อเรียก ข้ออ้อย สี่หุน
- ราคา บลกท. SD40T ต่อเส้น ตรง/พับ 74 + 7% หรือ 20 / กก.
- ราคา SD40 ไม่ที ตรง/พับ 96 + 7% หรือ 17.90 / กก.
4.ประเภท DB16 ขนาด 16มม.10ม. นน.ต่อเส้น 15.78 กก. ชื่อเรียก ข้ออ้อย ห้าหุน
- ราคา บลกท. SD40T ต่อเส้น ตรง/พับ 69 + 7% หรือ 16.99 / กก.
- ราคา SD40 ไม่ที ตรง/พับ 73 + 7% หรือ 17.60 / กก.
5.ประเภท DB20 ขนาด 20มม. 10ม. นน.ต่อเส้น 24.66 กก. ชื่อเรียก ข้ออ้อย หกหุน
- ราคา บลกท. SD40T ต่อเส้น ตรง/พับ 76 + 7% หรือ 16.90 / กก.
- ราคา SD40 ไม่ที ตรง/พับ 02 + 7% หรือ 17.60 / กก.
6.ประเภท DB25 ขนาด 25มม. 10ม. นน.ต่อเส้น 38.53 กก. ชื่อเรียก หนึ่งนิ้ว
- ราคา บลกท. SD40T ต่อเส้น ตรง/พับ 16 + 7% หรือ 16.90 / กก.
- ราคา SD40 ไม่ที ตรง/พับ 14 + 7% หรือ 17.60 / กก.
ราคาเหล็กเส้นในแต่ละภาค
ราคา เหล็กเส้นกลม กรุงเทพฯ และ ปริมณฑล
ขนาด ราคา (ต่อหน่วย)
RB6 93
RB9 114
RB12 182
RB15 141
RB16 196
RB19 474
RB20 508
RB25 808
RB28 996
ราคา เหล็กเส้นกลม ภาคกลาง
ขนาด ราคา (ต่อหน่วย)
RB6 57
RB9 669
RB12 535
RB15 1,387
RB19 496
ราคา เหล็กเส้นกลม ภาคตะวันออก
ขนาด ราคา (ต่อหน่วย)
RB6 58
RB9 177
RB12 199
RB15 362
RB19 400
RB25 833
ราคา เหล็กเส้นกลม ภาคอีสาน
ขนาด ราคา (ต่อหน่วย)
RB6 149
RB8 91
RB9 189
RB12 206
RB15 293
RB16 321
RB19 455
RB20 483
RB25 925
ราคา เหล็กเส้นกลม ภาคเหนือ
ขนาด ราคา (ต่อหน่วย)
RB6 55
RB9 138
RB10 52
RB12 194
RB15 141
RB16 380
RB19 516
ราคา เหล็กเส้นกลม ภาคใต้
ขนาด ราคา (ต่อหน่วย)
RB6 124
RB8 96
RB12 184
RB15 330
RB19 550
RB20 580
RB22 513
RB25 933
ข้อพิจารณาเมื่อเลือกซื้อเหล็กเส้นกลม
ผิวของเหล็กต้องเรียบ เกลี้ยง ไม่มีลูกคลื่น ไม่มีปีก ไม่มีรอยแตก หน้าตัดต้องกลม ไม่เบี้ยว
เส้นผ่าศูนย์กลางและน้ำหนักต้องถูกต้อง เช่น SR24 ขนาด 9 มม. เมื่อวัดเส้นผ่าศูนย์กลางต้องได้ 9 มม. น้ำหนักต้องได้ 0.499 กก./ 1 เมตร ความยาวทั้งเส้นตามมาตรฐานต้องยาว 10 เมตร เป็นต้น
เมื่อดัดโค้งงอต้องไม่ปริแตกและหักง่าย
เหล็กต้องไม่เป็นสนิมกินเข้าไปในเนื้อเหล็ก แต่หากเป็นสนิมบ้างบนผิวเหล็ก อาจเป็นเรื่องของสภาพอากาศของเมืองไทย ไม่ต้องกังวล
ลักษณะการใช้งานเหล็กเส้นกลม
- ใช้สำหรับการก่อสร้างที่รับแรงไม่มากนัก
- ใช้ทำปลอกเสา
- ใช้ทำปลอกคาน
- ไม่นิยมสำหรับงานยึดเกาะเช่นปูน เพราะเหล็กมีผิวเรียบมน ไม่เหมาะกับงานยึดเกาะ
เหล็กข้ออ้อย SD30, SD40, SD50 มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 3000, 4000, 5000 ksc.ตามลำดับ โดยปกติจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง เช่น DB10(หาในตลาดทั่วไปยาก), DB12(หมายถึง Deformed Bar ขนาด ศก.12มม.), DB16, DB20, DB25, DB28, DB32 ผิวของเหล็กเส้นจะมีลักษณะเป็นปล้องเพื่อเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวให้เหล็กกับคอนกรีตมากขึ้น
เหล็กเส้นข้ออ้อย
คือเหล็กเส้นกลมที่มีบั้ง และอาจมีครีบ ผิวของเหล็กเส้นจะมีลักษณะเป็นปล้องๆอยู่ตลอดเส้น เพื่อเสริมกำลังยึดเกาะให้เหล็กกับคอนกรีตมากขึ้น มีหลายชนิด แตกต่างกันที่ส่วนผสมของเนื้อเหล็ก โดยมีส่วนประกอบทางเคมีที่ต่างกัน เช่น เหล็กข้ออ้อย SD30, SD40, SD50
มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 3000, 4000, 5000 ksc.ตามลำดับ ซึ่งหมายความว่าเหล็กข้ออ้อยจะรับแรงได้มากกว่าเหล็กเส้นกลมเรียบ
และจะให้ผลที่ดีต่อการรับน้ำหนักมากกว่า การเลือกใช้ชนิดของเหล็กเส้นข้ออ้อย SD30, SD40, และ SD50 ขึ้นอยู่กับชนิดของโครงสร้างเป็นสำคัญ
ลักษณะของเหล็กเส้นข้ออ้อยที่ดี ต้องมีระยะบั้งที่เท่ากันและสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น ไม่มีสนิมรอยตำหนิ ไม่มีรอยปริและแตกร้าว
ในปัจจุบันการก่อสร้างนิยมใช้เหล็กข้ออ้อยมากกว่าเหล็กเส้นกลม เพราะมีคุณภาพสูงกว่า ทั้งด้านแรงดึงที่จุดคราก และแรงยึดเกาะคอนกรีต